ผ่าฟันคุด
ศัลยกรรมช่องปาก (Oral Surgery)
ศัลยกรรมช่องปากเป็นวิธีการรักษาทางทันตกรรมที่เกี่ยวข้องกับการผ่าตัด ซึ่งทันตแพทย์จะทำ การตรวจวินิจฉัย และการวางแผนการรักษาก่อนที่จะเริ่มการรักษา โดยศัลยกรรมช่องปากประกอบด้วย
1. การผ่าตัดเพื่อผ่าฟันคุด
ฟันกรามซี่สุดท้ายที่เรียกว่าฟันคุดนั้น เป็นฟันชุดสุดท้ายที่จะออกมาตอนช่วงอายุระหว่าง 18 – 20 ปีซึ่งใน
ความเป็นจริงฟันชุดนี้ก็มิได้มีความแตกต่างจากฟันซี่อื่นๆเพียงแต่น้อยคนนักที่มีฟันกรามขึ้นมาตามปกติพร้อมกับมีตำแหน่งลักษณะการขึ้นที่เหมาะสมและมีเหงือกโดยรอบที่มีสุขภาพดี เมื่อไหร่ก็ตามที่ฟันกรามซี่ในสุดมีอุปสรรคใน การขึ้นอาจเนื่องจากลักษณะการงอกออกมา หรือปัญหาทางด้านอื่นเรียกว่า “ฟันคุด” ซึ่งทันตแพทย์จะทำการเอ็กซเรย์ดุลักษณะและตำแหน่งการวางตัวของฟันวิเคราะห์ถึงความผิดปกติก่อนทำการวางแผนรักษา
อาการที่ฟันคุดเริ่มออกจากเหงือก
- อาการปวดจากเหงือก
- เกิดการอักเสบติดเชื้อ
- อาการบวมที่หน้า
ขั้นตอนการผ่าฟันคุด
-
ทันตแพทย์เฉพาะทางจะทำการตรวจวินิจฉัยสภาพรากฟันและบันทึกประวัติข้อมูลสุขภาพคนไข้ก่อนทำการวางแผนการรักษา
-
การเตรียมบริเวณที่จะทำการผ่าตัด
-
ทันตแพทย์จะทำการฉีดยาชา
ขั้นตอนการผ่าตัดเปิดเหงือก
-
การถอนฟันคุดออก
การเย็บติดปากแผล หลังการผ่าตัดคนไข้สามารถกลับบ้านได้ทันทีเลือดจะหยุดไหลภายในเวลาสั้นๆและแผลจะสามารถสมานตัวได้เองแต่การดูแลรักษาความสะอาดยังคงมีความสำคัญเพื่อหลีกเลี่ยงการอักเสบการติดเชื้อบริเวณแผลได้และควรหลีกเลี่ยงกิจกรรมที่ต้องออกแรงมากๆ
ข้อปฏิบัติตัวหลังการถอนฟันหรือผ่าฟันคุด
-
กัดผ้าก็อซให้แน่นเพื่อห้ามเลือด 1-2 ชม. หากยังมีเลือดออกเพิ่ม ให้ใช้ผ้าก็อตสะอาดวางบริเวณแผล แล้วกัดแน่นต่อจนเลือดหยุดไหล
-
ห้ามรบกวนบริเวณแผล ปล่อยให้แผลอยู่นิ่งๆ ห้ามใช้ลิ้นหรือสิ่งอื่นใดแตะดุนแผลเล่น
-
ห้ามบ้วนน้ำ ห้ามบ้วนน้ำลายหรือเลือด ให้กลืนน้ำลายลงคอได้เลย เนื่องจากการบ้วนอาจทำให้แผลขยับ และเลือดไหลไม่หยุด
-
ใช้น้ำแข็งห่อผ้า หรือ cold gel ประคบข้างแก้ม เพื่อให้เลือดหยุดเร็วขึ้น
-
ในวันแรก ควรทานยาแก้ปวดทุก 4-6 ชั่วโมง เพื่อช่วยบรรเทาอาการปวด
-
ในวันแรก ควรทานอาหารอ่อนหรือเหลว เพื่อป้องกันเศษอาหารเข้าไปติดบริเวณแผล กลางคืนนอนหนุนหมอนสูงเพื่อช่วยลดการบวมบริวเวณผ่าตัด
-
ให้แปรงฟันได้ตามปกติ แต่ระวังอย่ากระแทกโดนบริเวณแผล และห้ามบ้วนน้ำแรงๆ งดใช้น้ำยาบ้วนปากในช่วง 1-2 วันแรก เพราะจะทำให้แผลหายช้า
-
ในวันที่ 3 หลังถอนฟันหรือผ่าฟันคุด ให้อมน้ำเกลืออุ่นๆ บ้วนปากบ่อยๆ 3-5 ครั้งต่อวัน จะช่วยให้แผลหายเร็วขึ้น (เกลือ 1 ช้อนชาผสมน้ำอุ่น 1 แก้ว)
-
กรณีผ่าฟันคุด หรือถอนฟันซี่ยาก จะได้รับยาปฏิชีวนะสำหรับป้องกันการติดเชื้อ ต้องทานตามคำแนะนำอย่างเคร่งครัด ให้ทานยาต่อเนื่องเป็นเวลา 5 วัน การทานยาไม่ต่อเนื่องอาจทำให้เกิดการติดเชื้อภายหลังการผ่าตัดได้
-
การบวมช้ำ หรือมีจ้ำเขียว เป็นการตอบสนองตามปกติของร่างกาย ให้ประคบอุ่นๆเพื่อช่วยลดการบวม
-
ไม่ควรสูบบุหรี่ หรือดื่มแอลกอฮอล์ และงดการออกกำลังกายหนักๆ
-
หากมีการปวด หรือบวมมากผิดปกติ ควรรีบติดต่อทันตแพทย์
2. การถอนฟัน
หลังจากติดเครื่องมือ เจ้าหน้าที่ของเราจะทำการการสอนทันตสุขศึกษา สอนวิธีแปรงฟัน ใช้ไหมขัดฟันเฉพาะสำหรับคนไข้จัดฟัน และการใช้แปรงซอกฟัน เพื่อให้แน่ใจว่าทุกท่านสามารถดูแลสุขภาพช่องปากขณะจัดฟันได้อย่างถูกวิธี ไม่ทำให้เกิดปัญหาฟันผุ และฟันด่างภายหลังถอดเครื่องมือจัดฟัน
3. การผ่าตัดเพื่อปลูกถ่ายกระดูก (Bone graft surgery)
4. การผ่าตัดเพื่อฝังรากฟันเทียมไททาเนียม (Implant surgery)
5. การผ่าตัดเหงือกก่อนเข้ารับการรักษาทางทันตกรรมประดิษฐ์ (Pre-prosthetic surgery) เช่นการตัดเหงือกเพื่อเพิ่มความยาวฟัน (Crown-lengthening)
6. การผ่าตัดเพื่อจัดแต่งขากรรไกรร่วมกับการจัดฟัน (Orthognathic surgery)
7. การผ่าตัดเพื่อแก้ไขความผิดปกติของกระดูกขากรรไกร (Surgical correction of jaw excess/deficiency)
8. การปรับตำแหน่งขากรรไกรล่าง (Mandibular setback/advancement)
9. การจัดการกับรูปหน้าที่ผิดปกติ (Management of facial deformities)
10. ศัลยกรรมปลูกกระดูกวิธี Sinus Lift
การบูรณะฟันบริเวณฟันหลังของขากรรไกรบนด้วยรากเทียม มีข้อพิจารณาสำคัญอยู่ที่การละลายตัวของกระดูกรองรับฟันจากการที่สูญเสียฟันไป ทำให้เกิดปัญหาต่อการปลูกรากเทียมในบริเวณขากรรไกรบนเนื่องจากขาดกระดูกในการรองรับรากเทียม จึงต้องทำการเสริมกระดูกก่อนที่จะผ่าตัดฝังรากเทียมด้วยวัสดุเสริมกระดูก อาทิเช่น กระดูกของผู้เข้ารับการรักษาเอง, กระดูกมนุษย์, กระดูกสัตว์ หรือกระดูกสังเคราะห์ โดยการเสริมกระดูกสามารถทำได้ทั้งในแนวกว้าง, แนวสูง และการปลูกกระดูกในบริเวณพื้นโพรงอากาศแม็กซิลลา โดยการผ่าตัดเพื่อฝังรากเทียมในบริเวณกระดูกขากรรไกรบนด้านหลังนี้ จำเป็นต้องเป็นผู้ที่มีประสบการณ์ มีทักษะ ความรู้ ความสามารถ ในการวางแผน วินิจฉัยการรักษา รวมทั้งเทคนิคต่างๆในการผ่าตัดเสริมกระดูกในบริเวณนี้เป็นอย่างดี
ขั้นตอนการทำ
ทันตแพทย์ผู้ผ่าตัดจะทำการออกแบบแนวเปิดแผ่นเนื้อเยื่ออ่อนบริเวณกึ่งกลางสันกระดูกที่ว่าง เมื่อเปิดแผ่นเนื้อเยื่อให้แยกออกแล้วจึงกรอช่องกระดูกบนผนังโพรงอากาศด้านข้าง เพื่อแยกเยื่อบุโพรงอากาศออกจากด้านในของผนังโพรงอากาศเพื่อใส่วัสดุเสริมกระดูก หลังจากนั้นจะยืดแผ่นเนื้อเยื่อเพื่อปิดบาดแผลแล้วจึงเย็บปิดบาดแผล
ขั้นตอนการทำร่วมการฝังรากเทียม
-
ผ่าเปิดเนื้อเยื่ออ่อน
-
กรอเพื่อเปิดกระดูกผนังโพรงอากาศแม็กซิลลา
-
ทำการแยกเยื่อบุโพรงอากาศออก
-
กรอเจาะบริเวณสันกระดูกเพื่อใส่ตัวรากเทียม
-
ฝังตัวรากเทียม
-
บรรจุกระดูกลงในช่องใต้เยื่อบุโพรงอากาศที่แยกออกไว้
-
เย็บปิดแผล